กิจกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน

การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจไมโครอย่างยั่งยืน

Micro หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย หรือธุรกิจไมโคร ที่ธนาคารไทยเครดิต ให้การส่งเสริมและสนับสนุน Economic หมายถึง ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถเติบโตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการและสังคมไทย Development หมายถึง ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นพัฒนาแบบบูรณาการ ทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านการเงิน ความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจไมโครสามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมไปการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้ง 3 ด้านตามหลักการการธนาคารเพื่อความอย่างยั่งยืน (Sustainable Banking) ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจไมโครอย่างยั่งยืน ธนาคารไทยเครดิต  จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งโครงการที่หลากหลายและครอบคลุมการสนับสนุนทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ความรู้และกิจกรรมในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างบูรณาการ กิจกรรมเพื่อสังคม การวิเคราะห์และวิจัยทางเศรษฐกิจไมโคร ที่จะช่วยส่งเสริมและตอบโจทย์แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เยาวชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในกลุ่มธุรกิจไมโคร พร้อมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจดังกล่าวที่เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ธนาคารไม่เพียงแต่สนับสนุนบริการทางการเงิน แต่ยังผลักดันให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ได้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามปรัชญาของธนาคารที่ว่า “Everyone Matters ใครไม่เห็น เราเห็น”

ความรับผิดชอบต่อสังคม

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์และโปร่งใส ทั้งยังตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ธนาคารจึงมุ่งมั่น ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เพื่อสร้างรากฐานและการเติบโตเชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในสังคมในระยะยาว ตลอดจนสร้างมูลค่า ให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งธนาคารไทยเครดิต  ยึดมั่นตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของธนาคาร อีกทั้งการดำเนินงานของธนาคารฯ ยังยึดมั่นในการบริหารจัดการที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม 3 มิติ คือ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านธรรมาภิบาล (ESG)

ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)

ธนาคารฯ มีการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม แก่เยาวชน ในการดำเนินโครงการ คิดเพื่อน้อง บ่มเพาะลูกไม้ใต้ต้น เป็นโครงการประกวดเรียงความ เพื่อชิงทุนการศึกษา ในหัวข้อ “ตลาดชุมชนสีเขียว

ด้านสังคม (Social)

ธนาคารฯ ดำเนินกิจการภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ยึดมั่นและอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดย่อม ให้สามารถเริ่มต้นและต่อยอดธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง อันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้านธรรมาภิบาล (Governance)

ธนาคารฯ กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในด้านการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ในการให้สินเชื่อที่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถาบันการเงินและบรรเทาปัญหา ต่าง ๆ โดยมีแนวทาง 4 ข้อ คือ

            1. การแสดงเจตนารมณ์ในการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ

            2. การคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

            3. การกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานภายใน

            4. การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสประกอบการให้สินเชื่อ

อีกทั้งธนาคารฯ ยังร่วมเป็นสมาชิกองค์กรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยธนาคารฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์และโปร่งใส เพื่อช่วยสร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคม ตอบโจทย์สโลแกน “ใครไม่เห็น เราเห็น” ภายใต้แนวคิด “ทุกคนคือคนสำคัญ” ของธนาคาร

 

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบการรายย่อย การดำเนินโครงการ CSR ของธนาคารจึงยึดหลักการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals –SDGs) 6 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย จำแนกแต่ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่

ส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ให้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม

  • ให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนอย่างเข้าถึงและเท่าเทียม
  • นโยบาย และเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นธรรม และ ตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้า

เป้าหมายที่ 4 : การศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

ให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมวินัยทางการเงินที่ดี และเสริมความรู้ด้านการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แก่ผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งพัฒนาเยาวชนและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพ

  • ส่งเสริมความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy programs)
  • ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา (Scholarship)
  • ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Learning center)

เป้าหมายที่ 8 : การจ้างงานที่มีคุณค่า และการเติบโต ทางเศรษฐกิจ

ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ สามารถต่อยอดธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีความมั่นคง และยั่งยืน ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่เป็นธรรมและปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม มีสวัสดิการที่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐาน เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานทุกคน

  • นโยบายและเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าไม่ถึงแหล่ง เงินทุนในระบบ ให้สามารถขอสินเชื่อในระบบได้อย่างถูกต้อง
  • วัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมองค์กร
  • กิจกรรม และแผนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายที่ 9 : อุตสาหกรรม นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน

  • สร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการเงินสู่ดิจิทัลแบงกิ้ง
  • ริเริ่มการพัฒนาแพลตฟอร์มการธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ
  • ผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  • การให้บริการทางการเงิน ที่อำนวยความสะดวกเรื่อง การชำระเงินแก่ลูกค้า

เป้าหมายที่ 10 : ลดความเหลื่อมล้ำ

  • ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่ให้ประชาชนทุกคน ทุกอาชีพได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน
  • ส่งเสริมความรู้ทางการเงินกับประชาชน โดยเฉพาะผู้ประกอบ การรายย่อย ที่ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงและเรียนรู้เรื่องการเงิน
  • ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า อย่างแท้จริง

เป้าหมายที่ 13 : การรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

  • มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในด้านการ ให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ
  • รณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดโครงการประกวดไอเดียสร้างสรรค์
  • รณรงค์ให้พนักงานในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการรู้ คุณค่าสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Go green office)


กิจกรรมส่งเสริมธุรกิจไมโครและเพื่อสังคม

โครงการตังค์โต Know-how

โครงการตังค์โต Know-How เป็นโครงการจัดอบรมความรู้ทางการเงิน ส่งเสริมการให้ความรู้ พัฒนา และเสริมทักษะทางการเงิน ดำเนินโครงการโดยธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบัน เพื่อจัดอบรมให้แก่ลูกค้าธนาคารฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าของกิจการขนาดเล็ก รวมทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี ต่อมาได้ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมไปสู่พนักงานออฟฟิศ นิสิต นักศึกษา นักเรียน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สมาชิกชุมชนในต่างจังหวัดและเกษตรกร โดยเน้นการวางแผนทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้ และส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง มุ่งมั่นในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสังคมให้ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการดำเนินงานของธนาคารฯ “Everyone Matters” ทุกคนคือคนสำคัญ

ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ธนาคารไทยเครดิตฯ ถ่ายทอดความรู้ทางการเงินไปแล้วกว่า 3,097 ครั้ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 176,575 คน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ของสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อยของธนาคารฯ ทางออนไลน์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย Facebook, YouTube และ TikTok ในชื่อ “ตังค์โต Know-how” รวมทั้งจัดอบรมโดยวิทยากรส่วนกลางที่ลงพื้นที่อบรมทั่วประเทศ เน้นการวางแผนทางการเงินเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยเนื้อหาหลักสูตรการอบรมได้รับการออกแบบร่วมกันระหว่างธนาคารไทยเครดิตฯ และคณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายแขนง


นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน และสังคม
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายในการพัฒนาชุมชนและสังคมผ่านโครงการ "ตังค์โต Know-How" ซึ่งส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและเสริมสร้างทักษะการวางแผนทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าหลักของธนาคารฯ ได้แก่ ผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี รวมถึงขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆในชุมชนและสังคม เช่น พนักงานบริษัท นักเรียน นิสิต นักศึกษา เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เป็นต้น

ธนาคารฯ ตระหนักดีว่า การส่งเสริมความสามารถในการวางแผนและบริหารการเงินให้กับกลุ่มลูกค้าและบุคคลทั่วไป จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใกล้เคียง สอดคล้องกับหลักปรัชญาการดำเนินงานของธนาคารฯ "Everyone Matters" ทุกคนคือคนสำคัญ นโยบายดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนของธนาคารฯ

กลยุทธ์ แผนงานและเป้าหมาย
ธนาคารฯ ได้วางแผนพัฒนาขยายขอบเขตโครงการ "ตังค์โต Know-How" ทั้งในแง่เนื้อหาและช่องทางการเข้าถึง ให้ครอบคลุมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านการวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการจัดอบรมในรูปแบบต่างๆ มีกลยุทธ์และแผนงานดังนี้

  • พัฒนาหลักสูตรเนื้อหาความรู้ด้านการเงินร่วมกับคณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ทันสมัยเหมาะสมกับยุคสมัยอยู่เสมอ
  • ขยายกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการให้ครอบคลุมมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย และประชาชนในชุมชนห่างไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงองค์ความรู้ เกิดทักษะทางการเงินที่จำเป็น
  • เพิ่มจำนวนผู้เข้าอบรมผ่านช่องทางออฟไลน์และดิจิทัลแพลตฟอร์มให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • มุ่งเน้นการสร้างวิทยากรภายในที่มีคุณภาพ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมืออาชีพ ผ่านการจัดอบรมหลักสูตร "วิทยากรมืออาชีพ"
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
  • ติดตามประเมินผลโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาแผนงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • วางแผนขยายโครงการสู่การเสริมสร้างอาชีพหรือทักษะด้านอื่นๆที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมรายได้ของประชาชนในระยะยา

เป้าหมาย

  • ในปี 2567 นี้ ธนาคารฯ ตั้งเป้าหมายจำนวนผู้เข้าอบรม 60,000 คน โดยกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าอบรมให้ได้อย่างน้อยปีละ 10% และตั้งเป้าหมายคะแนนความพึงพอใจและการแนะนำบอกต่อไม่ต่ำกว่า 80% (ระดับดีเยี่ยม) 
  • นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมุ่งเน้นเป้าหมายให้ผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยของธนาคารฯ มีวินัยทางการเงินและมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดี โดยสามารถรักษาระดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน (credit) ของตนเองให้ได้ไม่ต่ำกว่า 80% ด้วย ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพและความมั่นคงทางการเงินของลูกค้าธนาคารฯ ในระยะยาว
     

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารฯ มีทั้งพันธมิตรเครือข่ายที่แข็งแกร่ง มีเป้าหมายชัดเจน และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่ท้าทาย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการ "ตังค์โต Know-How" จะยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องและสามารถเผยแพร่ความรู้ พัฒนาทักษะทางการเงินที่จำเป็นให้กับคนไทยได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายพันธมิตร

ธนาคารไทยเครดิตฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินในปีที่ 8 นี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในกรมการพัฒนาชุมชน ผู้นำกลุ่ม และองค์กรเครือข่ายภายใต้การดูแล ให้มีความรู้และทักษะด้านการบริหารการเงินและการจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ นับเป็นการสร้างความภาคภูมิใจและแสดงศักยภาพของธนาคารฯ ที่ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานภาครัฐ

การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนจากภายใน จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยลดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ธนาคารฯ เชื่อมั่นว่าโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินนี้จะทำให้ชุมชนมีภูมิต้านทานทางเศรษฐกิจ สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว สอดคล้องกับเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงให้แก่ทุกคน